การเลี้ยงหมูหลุม

การเลี้ยงหมูหลุม

ต้นกำเนิดการเลี้ยงหมูหลุม เริ่มจากไหนใครคิดค้น? “หมูหลุม” ภาษาทางการเรียกว่า “สุกรที่เลี้ยงในระบบเกษตรธรรมชาติ” คำว่า “หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบเดิมที่ผู้เลี้ยงไม่อยากให้หมูวิ่งเพ่นพ่าน พื้นที่เลี้ยงน้อย จึงขุดหลุมลึกประมาณ 1.5 – 2 เมตรเพื่อเป็นคอกสำหรับเลี้ยงหมู โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม และอาหารหมู เป็นสิ่งที่หาได้ตามท้องถิ่นนั้นๆ

วัสดุ/อุปกรณ์/ส่วนผสม
1. ท่อพีวีซีขนาด 4 นิ้ว
2. แกลบ
3. มูลสัตว์
4. เกลือ
5. น้ำหมักอีเอ็ม 1 แก้ว (เชื้อราเขียว 1 ถุง ถ้ามี)

ขั้นตอน/วิธีทำ
ขุดดินลึกประมาณ 90 เซนติเมตร ถ้าเป็นที่ลุ่มน้ำจะซึมเข้าไป ควรขุดลึกประมาณ 60 เซนติเมตรเอาดินขึ้นมาวางรอบๆข้างเพื่อยกระดับขึ้นอีกประมาณ30เซนติเมตรรวมทั้งสิ้น 90เซนติเมตรแล้วนำท่อพีวีซี ขนาด 4 นิ้ว วางในรูปโค้งไปโค้งมา เพื่อให้ปริมาณน้ำมากพอที่จะนำไปใช้เมื่อวางท่อพีวีซีเสร็จแล้วให้นำแกลบลงไปใส่ไว้ในหลุมที่เตรียมไว้30 เซนติเมตร มูลสัตว์10 เซนติเมตร และเกลือ 1 กิโลกรัม น้ำหมักอีเอ็ม 1 แก้ว (เชื้อราเขียว 1 ถุง ถ้ามี) ทำเหมือนกัน 3 ชั้น แต่ชั้นบนให้ใส่ดินบางๆ ให้มิดแกลบ ส่วนด้านบนหลุมให้ทำเหมือนกับเล้าหมูทั่วๆ ไป แล้วแต่จะมีอุปกรณ์ วิธีนำลูกหมูมาเลี้ยง ถ้าลูกหมูยังเล็กเกินไปยังไม่แข็งแรงพอ ควรเลี้ยงไว้ข้างนอกก่อนประมาณ 7-10 วัน แล้วจึงนำไปเลี้ยงในเล้าที่เตรียมไว้และควรทำเล้าหมูก่อนประมาณ 1 เดือน แล้วให้น้ำจนแกลบชุ่มอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้แก๊สในแกลบสลายตัวเสียก่อน แต่ถ้านำไปเลี้ยงเลยก่อนก็ได้ให้หมั่นระบายน้ำในท่อพีวีซีออกไปใช้เป็นน้ำอุ่นแล้วนำน้ำเย็นเข้าไปแทนจะทำให้แก๊สในเล้าหมูลดน้อยลง หมูก็จะอยู่อย่างสบายขึ้น แกลบก็จะย่อยสลายเร็ว เมื่อขายหมูเสร็จเราก็สามารถนำแกลบไปใช้ได้

การใช้ประโยชน
1. นอกจากจะได้รายได้จากการขายหมูแล้ว ยังได้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากการหมักของแกลบและขี้หมูที่ย่อยสลายไปเป็นปุ๋ย นำไปใช้ในการทำการเกษตรเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีเมื่อเกษตรกรลดการซื้อปุ๋ยเคมีก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

2. แตกต่างจากหมูหลุมที่อื่น คือ ได้น้ำอุ่นที่สามารถนำมาใช้ได้กับชีวิตประจำวันได้โดยไม่ใช้ไฟฟ้าแต่มีน้ำอุ่นไว้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ที่มา : ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง